การแพ้แดดคืออะไร?
การแพ้แดดเป็นศัพท์ที่ใช้อธิบายสภาวะที่ผิวหนังเกิดผื่นขึ้นหลังจากออกไปสัมผัสกับแสงแดด ทั้งนี้ แพทย์ยังไม่ทราบอย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุของการแพ้แดด แต่หลายคนคาดว่าแสงยูวีจะปรับเปลี่ยนสารในผิวหนังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยาส่งผลให้ผิวหนังอักเสบ (แดง ระคายเคือง คันหรือเป็นแผลพุพอง)
ลักษณะอาการของการแพ้แดดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่าผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดด (polymorphous light eruption, PLE) อาการที่เบากว่า ผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดดหรือ polymorphous light eruption (PLE) เรียกว่า ผื่นแพ้แดงจากอากาศร้อนจัดแบบไม่อันตราย (BSLE) แต่ภาวะนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในช่วงฤดูร้อนเสมอไปเหมือนชื่อเรียกของมัน ไม่ว่าจะเป็นทริปเล่นสกี การทานอาหารที่คาเฟ่กลางแจ้งในฤดูใบไม้ผลิ หรือในกรณีของผู้ที่มีผิวบอบบางมาก แม้แต่การเปิดรับแสงผ่านหน้าต่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดผื่นแดงเล็กๆ บนผิวหนังได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการแพ้แดด ผื่นแพ้แดดประเภทต่างๆ ที่ควรระวังและสิ่งสำคัญที่สุดคือวิธีจัดการกับปัญหานี้! คำเตือนการสปอย: สิ่งสำคัญคือการรู้ว่าควรเลือกครีมกันแดดแบบใด
ผิวแพ้แดด
อาการ
ผื่นแพ้แดดมีลักษณะอย่างไร?
อาการแพ้แดดมักหมายถึงภาวะที่เป็นที่รู้จักกันว่าผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดด “หลายรูปแบบ” แปลว่าเกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย คือมีผื่นแพ้แดดหลายประเภท:
- อาการที่พบบ่อยที่สุดมาในรูปแบบของกลุ่มของจุดเล็กๆ สีแดงและคัน มักปรากฎบริเวณคอ บ่าไหล่ แขนและขารวมถึงหลังเท้า จะไม่ค่อยขึ้นที่หน้า ผื่นมักปรากฏให้เห็นบนผิว 12 ชั่วโมงหลังการออกแดด
- บางคนมีแผลพุพองซึ่งต่อมาจะเป็นรอยแดงแห้ง (คล้ายกับผิวหนังอักเสบ)
- ซึ่งรอยแดงที่ปรากฏ ในบางครั้งอาจมาในลักษณะของผื่นสีซีดล้อมด้วยผื่นแดงที่เราเรียกว่า targets หรือ bull’s eyes2
อะไรคือสาเหตุของ
ผิวแพ้แดด?
ทำไมฉันจึงเป็นผื่นในช่วงฤดูร้อน?
ผิวแพ้แดดหรือผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดดอาจเกิดจากการที่ผิวสัมผัสโดนแสงแดด โดยเฉพาะ รังสียูวีเอ
ใครบ้างที่แพ้แสงแดด?
ผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดดอาจเกิดขึ้นมากถึง 10% ของกลุ่มคน โดยมักพบใน:
- ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 35 ปี แต่การแพ้แดดอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้
- คนผิวขาว แต่คนที่มีเฉดสีผิวเข้มกว่าก็แพ้แดดได้เช่นกัน
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณที่มีแสงแดดน้อยกว่า
สาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ของอาการแพ้แดด
ยาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline Antibiotics) สามารถกระตุ้นอาการผิวแพ้แดดได้ ในบางกรณี ผิวแพ้แดดอาจเกิดมาจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารบางชนิดก่อนการออกแดด ซึ่งตัวการในที่นี้อาจรวมไปถึงน้ำหอมหรือแม้แต่น้ำมะนาว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังได้บัญญัติคำว่า “โรคผิวหนังมาร์การิต้า (Margarita rash)” สำหรับอาการแพ้แดดที่เกิดจากส่วนผสมของมะนาว! ทว่าสาเหตุที่แท้จริงของผิวแพ้แดดนั้นมาจากแสงแดดโดยตรง โดยเฉพาะรังสี UVA นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมผลิตภัณฑ์กันแดดที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลปัญหาผิวนี้ อ่านเพิ่มเติมเพื่อทราบรายละเอียด...
การรักษาผิวแพ้แดด
การป้องกันผิวจากแสงแดดเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
การป้องกันผิวจากแสงแดด เป็นการรักษาอาการแพ้แดดขั้นเบื้องต้น นั่นหมายถึงการลดการสัมผัสโดนแดด ด้วยกิจวัตรการป้องกันแสงแดดที่ชาญฉลาดและการใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสมสำหรับผู้มีผิวแพ้แดด เพื่อหลีกเลี่ยงอาการผิวแพ้แดด ลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ ดังต่อไปนี้:
- หลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่างช่วงเวลา 11:00 น. ถึง 16:00 น.
- สวมใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก แว่นกันแดด เสื้อยืดแขนยาวเป็นต้น
- ใช้ครีมป้องกันแสงแดดที่มีค่าการป้องกันสูงมากๆ (SPF 50+) พร้อมด้วยประสิทธิภาพการป้องกันอย่างครอบคลุมทั้งรังสี UVA และ UVB
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากันแดดที่คุณใช้ มีคุณสมบัติการป้องกันรังสี UVA ได้ (เพราะกันแดดแต่ละตัวอาจแตกต่างกันไป!)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าครีมกันแดดของคุณผลิตขึ้นสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้
- ทาครีมกันแดดที่เหมาะสมซ้ำทุกๆ สองชั่วโมง
ทำไมครีมกันแดด
แต่ละชนิด
อาจมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน
ครีมกันแดดอะไรที่ฉันควรใช้สำหรับผิวแพ้แดด?
หากคุณกำลังประสบกับปัญหาผิวแพ้แดดไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใดก็ตาม คุณต้องหาครีมกันแดดที่เหมาะสม พันธมิตรของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังของแบรนด์ ลา โรช-โพเซย์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผู้ที่มีสภาพผิวที่บอบบาง ไวต่อแสงแดดโดยเฉพาะ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถช่วยลดอาการแพ้แดดได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังบางรายแนะนำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน, วิตามินบี 3 (nicotinamide), ซีลีเนียมและโพรไบโอติก สามารถช่วยลดการเกิดของผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดดได้ ซึ่งอาจต้องเริ่มทานเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนออกแดดครั้งแรก และตลอดระยะเวลาของการที่ผิวต้องสัมผัสโดนแสงแดด
การรักษาทางการแพทย์สำหรับผื่นที่เกิดจากแสงแดดหลายรูปแบบ
เมื่อเกิดอาการแพ้แดด ควรหลีกเลี่ยงการออกแดดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันผิวจากแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ผื่นจะค่อยๆ จางลงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันผิวเป็นระยะเวลาสองสามสัปดาห์ หากผิวไวต่อแสงแดด คุณอาจต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อขอรับคำแนะนำและการรักษาอย่างตรงจุด
สำหรับผื่นคันหรืออาการเจ็บปวดจากผื่นคัน แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ซึ่งครีมประเภทนี้ควรใช้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ดังนั้น คุณจึงไม่ควรใช้ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) หากไม่มีผื่นคัน
ยังมียาหลายตัวที่แพทย์สามารถจ่ายให้ผู้ป่วยเพื่อลดปัญหาผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดด ซึ่งยาเหล่านี้ รวมถึงยาต้านมาลาเรียที่เรียกว่าไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ยาสเตียรอยด์ในช่องปากหรือยาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ เช่น เอซาไธโอพรีน (Azathioprine)
การรักษาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาผิวนี้ได้คือ การรักษาโดยการส่องไฟ (phototherapy) ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีการรักษานี้เป็นการเผยผิวหนังของคุณให้ได้รับรังสียูวีในปริมาณที่ได้รับการควบคุมไว้เพื่อ 'ลดความไวของผิว' โดยการรักษาจะต้องทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ส่วนมากในช่วงฤดูใบไม้ผลิเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ติดต่อกัน ทว่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมักหลีกเลี่ยงการรักษาประเภทนี้ เนื่องจากมันเป็นการสัมผัสผิวกับรังสียูวีซึ่งจะสั่งสมในร่างกายไปตลอดชีวิต และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
การดูแลรักษาทั้งหมดนี้ มีไว้สำหรับกรณีปัญหาผิวที่ร้ายแรงและต้องได้รับการดำเนินการภายใต้การดูแลของแพทย์โดยเฉพาะ
แม้ว่าผื่นแพ้แดดอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและทำให้ผิวหนังรู้สึกระคายเคือง แต่ข่าวดีก็คือมันสามารถจางหายไปได้ หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวที่เหมาะสมโดยจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นหรือความเสียหายที่ยาวนานบนผิว
1Hawk, J. (2004). Benign summer light eruption and polymorphic light eruption: genetic and functional studies suggest that a revised nomenclature is required. Journal of Cosmetic Dermatology, 3(3), 173-175.