อะไรคือโรคสะเก็ดเงิน (PSORIASIS)?
โรคสะเก็ดเงินเป็น โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง "เรื้อรัง" เพราะสามารถคงอยู่ได้เป็นเวลานานและ "อักเสบ" เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการทำงานที่มากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน โรคสะเก็ดเงินมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้ที่มีความบกพร่องทางพันธุกรรมต่อภาวะนี้ (หมายถึงมีการถ่ายทอดผ่านจากรุ่นสู่รุ่น) โดยมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่และมีแนวโน้มที่จะลุกลามในช่วงเวลาเครียด โรคสะเก็ดเงินแบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย (ชนิดผื่นหนา ชนิดผื่นขนาดเล็ก สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ ชนิดตุ่มหนอง และชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว) ในบทความนี้เราจะเน้นไปที่โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา ซึ่งคิดเป็น 90% ของผู้ป่วย
สงสัยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) และโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)? คลิกที่นี่เพื่อข้ามไปยังตารางสรุปของเรา
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน (PSORIASIS)
อะไรคือสาเหตุการลุกลามของโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)?
การศึกษาเกี่ยวกับฝาแฝดพบว่าโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือถ่ายทอดทางยีน แต่ฝาแฝดที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจประสบภาวะของโรคสะเก็ดเงินที่แตกต่างกัน เนื่องจากการลุกลามอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
- ความเครียด การทำงานมากเกินไป หรือการบาดเจ็บทางอารมณ์
- เสื้อผ้าที่เสียดสีกับผิวหนัง
- ยาสามัญบางชนิด รวมถึง เบตาบล็อกเกอร์ กลุ่มยา NSAIDs (ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค ฯลฯ) ลิเทียมและการรักษามาลาเรีย
- การติดเชื้อ(โดยทั่วไปคือการติดเชื้อทางจมูกและลำคอ)
- การบาดเจ็บที่ผิวหนัง เช่น ผิวไหม้หรือรอยสักอาจทำให้อาการลุกลามขึ้น ซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ Koebner
อาการของโรคสะเก็ดเงิน (PSORIASIS)
โรคสะเก็ดเงินมีลักษณะอย่างไร?
ในโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา ผิวหนังจะมีรอยแดงหยาบหนาและปกคลุมด้วยเกล็ดสีขาว ผื่นเหล่านี้มักพบในบริเวณที่มีการเสียดสี อย่าง หัวเข่า ข้อศอก หน้าท้อง และหลังช่วงล่าง นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ที่หนังศีรษะ มือ และเท้า ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักพบว่ามีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย ได้แก่ เล็บเป็นหลุมและแตก (เรียกว่า onycholysis)
หากคุณเป็นโรคสะเก็ดเงิน อ่านต่อเพื่อค้นหาตัวเลือกการรักษาของคุณ
ฉันเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) หรือโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)? ทั้งโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) และโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ก่อให้เกิดแผลสีแดงคันบนผิวหนัง แต่ก็มีสภาวะที่แตกต่างกัน ข้ามไปที่คำแนะนำของเราในการหาข้อมูลถึงอาการที่คุณเป็น
ทำไมถึงเกิดผื่นของโรคสะเก็ดเงิน
?
โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis): ทุกอย่างเกี่ยวกับความเร็วในการผลัดเปลี่ยนเซลล์
โรคสะเก็ดเงินเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งได้รับการพิสูจน์โดยการปรากฏของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า T lymphocytes ในผิวที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน การอักเสบที่เกิดขึ้นจะเร่งกระบวนการผลัดเซลล์และเร่งการผลิต keratinocytes (เซลล์ที่ตายแล้วบนผิวหนัง)
โดยปกติเซลล์เหล่านี้จะใช้เวลา 28 วันในการเดินทางจากชั้นเบเซิลหรือบริเวณชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้าขึ้นสู่ผิวชั้นบนสุด (corneal layer) แต่ในโรคสะเก็ดเงินจะใช้เวลาเพียง 3-4 วัน
จึงส่งผลให้เซลล์ที่ตายแล้วเริ่มสะสมที่พื้นผิวหนังทำให้เกิดสะเก็ดสีแดงขึ้น
วิธีการดูแล
โรคสะเก็ดเงิน (PSORIASIS)
ตัวเลือกต่างๆ เพื่อดูแลรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอะไรบ้าง?
ไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับโรคสะเก็ดเงินแบบใดที่เหมาะกับคุณที่สุด? อ่านต่อสำหรับคู่มือผู้เชี่ยวชาญของเรา
ครีมสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับโรคสะเก็ดเงินคือครีมเฉพาะ แพทย์อาจสั่งจ่ายครีมสเตียรอยด์หรือครีมวิตามินดี 3 นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมบางตัวที่คุณสามารถซื้อได้จากร้านขายยา เช่น ISO-UREA MD Baume Psoriasis ซึ่งจะช่วยขจัดเกล็ดออกไป และป้องกันไม่ให้ผื่นหนาขึ้นพร้อมให้ความชุ่มชื้นอันยาวนานเพื่อลดอาการคันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฉายแสงอาทิตย์เทียมสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
ในการฉายแสงอาทิตย์เทียมผิวหนังจะสัมผัสกับรังสี UVA/UVB ในปริมาณที่ได้รับการควบคุม ซึ่งจะสามารถชะลอการสร้างเซลล์ผิวและลดการสร้างผื่น แต่อย่าถือว่านี่เป็นคำแนะนำในการออกไปอาบแดด เพราะการฉายแสงอาทิตย์เทียม ปริมาณรังสี UVA/UVB จะได้รับการปรับเทียบอย่างรอบคอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ยารับประทานสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
ในกรณีที่มีรูปแบบของโรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาทานชนิดเม็ด โดยปกติแล้วยาเหล่านี้เป็นยากดภูมิคุ้มกัน เช่น เมโธเทรกเซท เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานเกินพอดีอยู่ภายใต้การควบคุม
สปาบำบัดหรือวารีบำบัดสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
สปาบำบัดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีกับโรคสะเก็ดเงิน น้ำแร่ธรรมชาติมีคุณสมบัติในการปลอบประโลมผิวและทำความสะอาดซึ่งช่วยลดจำนวนและขนาดของผื่นโรคสะเก็ดเงิน
คุณสามารถซื้อ La Roche-Posay Thermal Spring Water ได้ที่ร้านขายยาเพื่อให้ละอองสเปรย์น้ำแร่ปลอบประโลมผิวให้รู้สึกสบาย
ชีวบำบัดสำหรับโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงินในกรณีที่รุนแรงมากจะได้รับการบำบัดที่เรียกว่า "ยากลุ่มชีวภาพ" ซึ่งมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในรูปแบบยาฉีด โดยจะ "เข้าไปจัดการทำลาย" การอักเสบด้วยการผูกติดกับสารก่อการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคสะเก็ดเงิน
โรคผิวหนังอักเสบ (eczema) VS โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)
ความแตกต่างระหว่างโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) และโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) คืออะไร?
ทั้งโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) และโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ก่อให้เกิดผื่นแดงคัน แต่ก็มีสภาวะที่แตกต่างกัน ดูตารางด้านล่างสำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับความคล้ายคลึงและความแตกต่าง
โรคผิวหนังอักเสบ (eczema) | โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) | |
ผู้ที่ได้รับผลกระทบ | ทารกและเด็กเล็ก 50% ของกรณีนั้นสามารถแก้ไขได้ภายในอายุ 5 ขวบ แต่สามารถเป็นต่อเนื่องไปถึงในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ | โดยปกติจะเริ่มเป็นระหว่างอายุ 15 ถึง 35 ปี พบได้น้อยในทารกและเด็กเล็ก |
คุณจะรู้สึก | คันอย่างรุนแรง | คันเล็กน้อยและจะเจ็บหรือแสบร้อน |
ลักษณะรอยแผล | รอยแดงที่ลอกมีเลือดซึมหรือตกสะเก็ด อาจมีรอยข่วนและมีเลือดออกให้เห็น | แผ่นผื่นสีแดงนูนขึ้นพร้อมกับเกล็ดสีเงิน ผิวหนังจะหนาและอักเสบมากกว่าในโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) |
บริเวณของรอยแผล | ในทารก: อาจได้รับผลกระทบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ส่วนมากจะอยู่บนใบหน้าและหนังศีรษะ ในเด็กโต: มักจะส่งผลกระทบต่อรอยพับของคอและผิวหนัง (ด้านในของข้อศอก ด้านหลังหัวเข่า ฯลฯ) | ข้อศอก หัวเข่า หนังศีรษะ และใบหน้า รวมถึงหลังช่วงล่าง ฝ่ามือ และฝ่าเท้า โรคสะเก็ดเงินยังสามารถทำให้เล็บเป็นหลุมและแตกได้ซึ่งไม่เกิดในโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) |
สิ่งกระตุ้น | อะไรก็ตามที่ทำให้ผิวแห้ง เช่น สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจกระตุ้นการลุกลามของผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้ ก็ยังมีสิ่งระคายเคืองอื่นๆ อาทิ น้ำยาซักผ้า หรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นบ้าน และอาหารบางชนิด ท้ายที่สุดนี้ ผิวหนังอักเสบจะลุกลามมากขึ้นได้เนื่องจากความเครียด อากาศร้อนอบอ้าว หรือปล่อยให้เหงื่อออกแล้วไม่อาบน้ำหลังเล่นกีฬา | เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงินก็อาจเกิดขึ้นได้จากความเครียด และยังสามารถเป็นได้อันเนื่องมาจากการติดเชื้อในลำคอหรือการบาดเจ็บที่ผิวหนัง (รอยขีดข่วน บาดแผล รอยสัก) ยาบางชนิดก็สามารถกระตุ้นความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินได้ เช่น เบตาบล็อกเกอร์ กลุ่มยา NSAIDs (ไอบูโพรเฟน) ลิเทียมหรือยาต้านมาลาเรีย |
ทรีตเมนต์การรักษา | การลุกลามของโรคผิวหนังอักเสบมักได้รับการรักษาด้วยครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) แล้วตามด้วยการบำรุงที่ทำให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น ในกรณีที่มีความรุนแรงมากๆ แพทย์อาจสั่งยาทานให้ เช่น เมโธเทรกเซท หรือ "ยากลุ่มชีวภาพ" (การฉีดแอนติบอดีเข้าเส้นเลือด) เช่น dupilumab | กรณีของโรคสะเก็ดเงินที่ไม่รุนแรงและเฉพาะที่นั้นสามารถควบคุมได้ด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) และบำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้น ภาวะนี้จะได้รับประโยชน์จากการบำรุงผิวให้เนียนนุ่มจากปฏิบัติการลอกเคราติน (การลอกผิว) ในกรณีที่รุนแรงกว่าจะได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันแบบทาน เช่น เมโธเทรกเซท การฉายแสงอาทิตย์เทียม หรือ "ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ" ในกรณีที่รุนแรงที่สุด |
โรคสะเก็ดเงินติดต่อทางไหน
โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นเรื่องที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนี้
- พันธุกรรม
- สภาพแวดล้อม
- การติดเชื้อในร่างกาย
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง
หากมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นสะเก็ดเงินมีโอกาสที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น อากาศ มลภาวะ และแมลง
การติดเชื้อกลุ่มไรโนไวรัส (Rhinoviruses) เอชไอวี (HIV) เอชพีวี (HPV) ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)
จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง และส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวได้ในที่สุด
การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเกิดอักเสบจากการผ่าตัด ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน
คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโรคผิวหนังอักเสบในเชิงลึกจากสาเหตุไปจนถึงแนวทางแก้ไข