ลำดับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
เริ่มจาก “ครีม ฟลูอิด เจล อิมัลชั่น” เป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหนักเบาของเนื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป อาจเรียงลำดับจากเนื้อผลิตภัณฑ์ที่เบาที่สุดไปสู่เนื้อข้นที่สุดได้แก่ “เจล (Gel) 🡪 ฟลูอิด (Fluid) 🡪 อิมัลชั่น (Emulsion) 🡪 ครีม (Cream) ” ซึ่งทั้งหมดนี้จัดอยู่ในกลุ่มมอยซ์เจอไรเซอร์ แนะนำให้เลือกใช้ตามประเภทผิวเลือกใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ตามประเภทผิว
หากมีผิวแห้ง ควรเลือกใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่มีเนื้อครีม แต่หากมีผิวผสมหรือผิวมันสามารถเลือกใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ได้ทั้งรูปแบบเจล ฟลูอิด หรือ อิมัลชั่น โดยเลือกเนื้อที่สามารถทาได้จริง ซึมซาบเร็วไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะกับประเภทผิวของตนเอง เพราะทุกประเภทผิวและปัญหาผิวจำเป็นต้องใช้มอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกประเภท และปัญหาผิวคนที่มีผิวมัน หรือผิวผสมหลายคนอาจหลงผิดคิดว่าผิวมันแล้วไม่จำเป็นต้องทาครีมหรือบำรุงใด เพราะจะยิ่งทำให้หน้ามันเงา เหนอะหนะระหว่างวัน ซึ่งหากคนที่มีผิวมันเลือกมอยซ์เจอไรเซอร์ที่เหมาะกับผิว นอกจากจะมีสารที่ไปช่วยลดการผลิตน้ำมันหรือควบคุมความมันได้แล้ว มอยซ์เจอไรเซอร์ยังมีหน้าที่หลักคือการเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิว เมื่อผิวชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น การผลิตน้ำมันที่มากผิดปกติก็จะลดลง เสมือนมอยซ์เจอไรเซอร์ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลการผลิตน้ำมัน นั่นคือสามารถช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ด้วย
เซรั่ม และเอสเซนส์จำเป็นหรือไม่
หากทุกคนจำเป็นต้องใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ในขั้นตอนการบำรุงแก้ปัญหาผิวแล้ว เซรั่มและเอสเซนส์ยังจำเป็นจะต้องใช้หรือไม่ เรามาเริ่มต้นทำความเข้าใจไปด้วยกันเซรั่ม และเอสเซนส์ คืออะไร
เซรั่ม และเอสเซนส์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันคือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญเข้มข้น ที่เน้นการแก้ปัญหาผิวนั้น ๆ จากเดิมเอสเซนส์จะมีความบางเบาของเนื้อผลิตภัณฑ์มากกว่า แต่ยังคงความเข้มข้นของสารสำคัญ แต่ต่อมาการเรียกผลิตภัณฑ์ใด ๆ ว่าเป็นเอสเซนส์ หรือเซรั่ม ไม่ได้มีหลักการสากล เป็นการเรียกชื่อตามความต้องการของบริษัทผู้ผลิต จึงทำให้การนิยามความแตกต่างของทั้งสองผิดแปลกไปจากเดิม กล่าวคือ ณ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เซรั่มหรือเอสเซนส์มีคุณสมบัติที่ไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเรียกชื่อของผลิตภัณฑ์นั้น คือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญเข้มข้น เพื่อเน้นการแก้ปัญหาผิวอย่างเห็นผลเซรั่ม หรือเอสเซนส์ จำเป็นต้องใช้หรือไม่
เซรั่ม หรือเอสเซนส์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นการแก้ปัญหาผิว จึงมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เพื่อการแก้ปัญหาผิวในความเข้มข้นที่สูงกว่าที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่นสารสำคัญใน “เซรั่มสำหรับปัญหาสิว หรือเซรั่มลดสิว” เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาสิวอุดตันตั้งแต่อยู่ใต้ผิว มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือหากสัมผัสบนใบหน้าก็จะเรียบเนียนปกติ ไม่มีความรู้สึกปวด บวม แดงใด ๆ บนผิว เรียกการอุดตันใต้ผิวนี้ว่า “ไมโครคอมิโดน (Micro-comedone)” จุดเริ่มต้นของวงจรสิวด้วยสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมการผลัดเซลล์ผิว ที่มีเข้มข้นกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปจึงจะสามารถสลายการอุดตันตั้งแต่ต้นตอได้ เรียกได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอของการเกิดสิว (ตั้งแต่อยู่ใต้ผิว) ก็น่าจะเป็นอีกคุณสมบัติหลักที่น่าสนใจ นอกจากจะเป็นแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาแล้ว เซรั่มลดสิวก็จะมีปริมาณสารสำคัญที่เข้มข้นด้วย จึงเปรียบเสมือนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาสิวให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก
เซรั่ม หรือเอสเซนส์ ต้องใช้นานเท่าไหร่จึงจะเห็นผล
จากการที่มีสารสำคัญในปริมาณที่สูงขึ้นในผลิตภัณฑ์เซรั่ม เช่นนี้แล้วประสิทธิภาพหลังการใช้อาจต้องดูจากผลการทดสอบทางคลินิก ซึ่งเป็นการทดสอบภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง เช่น เซรั่มลดสิวที่มักจะพบว่าด้วยกลไกการแก้ปัญหาสิวของสารสำคัญ และการทำงานขององค์ประกอบภายในผิวหนังของเรา เช่นกระบวนการผลัดเซลล์ผิวที่ใช้เวลาประมาณ 28 วัน ดังนั้นสำหรับเซรั่มลดสิวหากใช้ตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับการทดสอบทางคลินิก (เช่นวันละครั้งก่อนนอน หรือสองครั้งทั้งเช้าและก่อนนอน) น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนที่ปัญหาสิวน่าจะดีขึ้น หรืออาจจะใช้เวลาที่น้อยนั้นก็เป็นไปได้ ที่ผู้ใช้น่าจะเริ่มสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของการลดลงของปัญหาสิว หรือสุขภาพผิวที่ดีขึ้น เช่นความมันบนใบหน้าที่ลดลง รูขุมขนที่ดูเล็กและกระชับขึ้น ทำให้ผิวเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาสิวที่เป็น และวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การเลือกผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนการบำรุงมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาสิวเป็นอย่างมาก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นความหวังหลักในขั้นตอนการแก้ปัญหาสิวเลยทีเดียว
ในขั้นตอนนี้อาจแบ่งผลิตภัณฑ์ได้เป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ เซรั่มลดสิว ที่มีสารสำคัญในความเข้มข้นที่สูงกว่า และมอยซ์เจอไรเซอร์ที่เน้นคุณสมบัติการให้ความชุ่มชื้นร่วมด้วย เพราะความชุ่มชื้นเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกประเภทและปัญหาผิว สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยทำให้การแก้ปัญหาสิวได้ผลดีที่สุดคือการลดหรือเลี่ยงสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นการเกิดสิว (ไม่เพิ่มปัญหาสิว/ไม่เพิ่มปริมาณสิวใหม่) ร่วมกับการแก้ปัญหาสิวเดิมที่มีอยู่ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์แก้ปัญหาสิวที่มีกลไกการทำงานของสารสำคัญที่สาเหตุของการเกิดสิว รวมไปถึงต้นตอของการเกิดสิว นี่คือหลักสำคัญพื้นฐานเพื่อการลองถูกในการแก้ปัญหาสิวอย่างมีประสิทธิภาพ