รู้จักผิวหนัง 3 ชั้น
เราต่างมีผิวหนัง 3 ชั้นเหมือนกัน ได้แก่ ผิวชั้นหนังกำพร้า ผิวชั้นหนังแท้ และชั้นไขมันใต้ผิว เพียงแต่อาจมีความแตกต่างกันที่ องค์ประกอบของผิว เช่น มีปริมาณคอลลาเจนในผิวที่สูงกว่า มีต่อมไขมันที่มากกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้ชายมักจะมีผิวมันเงา หยาบกร้าน และมักจะประสบปัญหารูขุมขนกว้างมากกว่าผู้หญิง รวมไปถึงฮอร์โมนเพศชายตัวสำคัญ “ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน” ที่ส่งผลให้มีการผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้นด้วย และน้ำมันที่ผลิตมามากผิดปกตินี้เป็นหนึ่งใน 4 สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาสิว4 สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาสิว
แมัจะมีความแตกต่างขององค์ประกอบในผิว แต่ 4 สาเหตุของการเกิดสิวทั้งสำหรับผู้ชายหรือจากผู้หญิง ไม่ได้มีความแตกต่าง นั่นคือ- 1. การผลิตน้ำมันมากผิดปกติ
2. การแบ่งเซลล์ผิวมากผิดปกติ
3. การอักเสบ
4. การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงการเสียสมดุล ของแบคทีเรียบนผิว
การดูแลปัญหาสิวสำหรับผู้ชาย ด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน
การทำความสะอาด เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เพิ่มคุณสมบัติลดความมัน เพราะผู้ชายมีปัจจัยที่ทำให้ผิวมันเงามากกว่าผู้หญิง ดังนั้นจึงควรเลือกเจล หรือโฟมล้างหน้าที่มีสารลดความมัน เช่น ซิงค์ ควรพิจารณาเลือกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน (Non-comedogenic) ปราศจากสารที่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเช่น สารสบู่ แอลกอฮอล์ และ สารกันเสียกลุ่มพาราเบน เป็นต้น และควรเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีค่าความเป็นกรดต่าง (pH) ใกล้เคียงกับผิว และทำความสะอาดผิวหน้าอย่างเบามือประมาณ 20 วินาที ไม่ขัดถูใบหน้ารุนแรงเกินไป และสิ่งที่สำคัญที่คุณผู้ชายควรจะแก้ความเข้าใจผิดการล้างหน้าเพียงวันละ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว หลายคนคิดว่าการล้างหน้าบ่อย ๆ จะช่วยลดความมันบนใบหน้า แต่จริง ๆ แล้วการล้างหน้าบ่อยเกินไป จะยิ่งส่งผลให้ผิวหน้ามันเงายิ่งขึ้น และยังอาจทำให้ปราการผิวอ่อนแอลง ทำให้ผิวบอบบาง แพ้ ระคายเคืองง่ายได้ด้วยแนะนำ คลีนเซอร์ EFFACLAR Micro-Peeling Gel สำหรับผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย
- เป็นสูตรอ่อนโยน เพื่อลดอาการระคายเคืองผิวที่จะไปกระทบต่อการเกิดสิวได้ เช่น มีค่า pH ของผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผิว (Physiological pH) และต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารสบู่ (Soap-free)
- หากแต่งหน้าควรเพิ่มขั้นตอนการเช็ดเครื่องสำอาง เพื่อการทำความสะอาดที่หมดจด และลดการอุดตันของเครื่องสำอาง
- หลีกเลี่ยงการขัด สครับผิว เพื่อลดโอกาสของอาการผิวเกิดการระคายเคือง
- ทำความสะอาดผิวโดยการล้างหน้าเพียงวันละ 2 ครั้งก็เพียงพอในการดูแลปัญหาสิวแล้ว
บำรุงและแก้ปัญหาสิวด้วยครีมรักษาสิว
การเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงและแก้ปัญหาสิวด้วยครีมรักษาสิวและครีมลดรอยสิวที่มีสาระสำคัญสำหรับการปัญหาสิว โดยพิจารณาจาก 4 สาเหตุหลักของการเกิดสิว เช่น- ลดการผลิตน้ำมันด้วย “ซิงค์”
- เสริมการผลัดเซลล์ผิว ด้วย “ซาลิไซลิก แอซิด ไกลโคลิก แอซิด หรือ LHA” เป็นต้น
- ลดการอักเสบ ด้วย “ไนอะซินาไมด์”
- ลดเชื้อแบคทีเรีย ด้วย “ไพร็อกโทน โอลามีน” เป็นต้น
- สารอื่นที่เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสิว เช่นสารที่ช่วยลดรอยแดง รอยดำที่เกิดจากสิว เป็นต้น
แนะนำ ผลิตภัณฑ์มอยซ์เจอไรเซอร์เอฟฟาคลาร์ ดูโอ(+)
เจลครีมลดรอยสิว ที่ให้ความชุ่มชื้นและควบคุมความมัน ให้สัมผัสที่ไม่เหนียวเหนอะหนะ ต่อต้านปัญหาผิว เพื่อช่วยกำจัดรอยสิวให้หายไปอย่างรวดเร็ว ป้องกันสิวเกิดซ้ำ และจำกัดความเสี่ยงของการเกิดรอยแผลเป็น
ปกป้องผิวด้วยครีมกันแดด
อีกขั้นตอนสำคัญที่มักถูกมองข้ามโดยเฉพาะผู้ชายส่วนมากที่ไม่ชอบความเหนียวเหนอะของครีมกันแดด จึงมักจะปฏิเสธการใช้ครีมกันแดด ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันมีครีมกันแดดที่เนื้อเบา เกลี่ยง่าย ไม่ขาววอก และยังมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความมันเงา แก้ปัญหาความมันส่วนเกินของผิวของผู้ชาย และยังช่วยลดปัญหาสิว และปกป้องผิวช่วยให้รอยสิวต่าง ๆ ดูจางลงไปด้วยแนะนำ ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด Anthelios Ultra Cream SPF50+
ครีมกันแดด XL-PROTECT เทคโนโลยีการกรองที่จดสิทธิบัตร ที่ให้การป้องกัน UVA/UVB อย่างครอบคลุมในระดับสูง และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากมลภาวะและอินฟราเรด
เพียงแค่สามขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับปัญหาสิวของคุณผู้ชายที่เน้นการแก้ปัญหาสิวโดยเฉพาะเรื่องของความมันเงาที่มากกว่าที่พบในผู้หญิง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับทัศนคติเกี่ยวกับขั้นตอนการดูแลผิวของผู้ชายว่าไม่ใช่แค่เพียงการล้างหน้า แต่การบำรุงหรือแก้ไข และการปกป้องผิว ก็เป็นอีก 2 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่ผู้ชายแมน ๆ ไม่ควรมองข้าม เพราะก่อนที่เราจะไปดุแลใครได้ เราต้องดูแลตัวเองให้ได้ และให้ดีก่อน คุณผู้ชายก็สามารถมีผิวแข็งเรงสุขภาพดีได้ด้วยเช่นเดียวกัน
References:
- 1. Maskne: Exacerbation or Eruption of Acne During the COVID-19 Pandemic Tamar Aliya Gomolin BSc1, Abigail Cline, PhD, MD2, Marian Russo, MD2. Sept2020
2. Self-reported skin sensation by people who have experienced containment during covid-19 pandemic. Nicolas Kluger*1, MD, PhD, Caroline Le Floch2, Margot Niore2, Véronique Delvigne2, Guénaële Le Dantec2, Charles Taieb3, MD
3. Elston, D.M., Occupational skin disease among health care workers during the coronavirus (COVID-19) epidemic. J Am Acad Dermatol, 2020. 82(5): p. 1085-1086.