สแกนสิว ตรวจผิว1
ด้วยเทคโนโลยี AI
วิเคราะห์ผิวที่มีปัญหาสิว
ได้อย่างแม่นยำ
1สิวเสี้ยน สิวอุดตัน สิวจากความมัน
เลือกครีมกันแดดอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งานของตนเอง
7 min read
แต่เดิมครีมกันแดดให้ความสำคัญกับการป้องกัน UVB เท่านั้น เนื่องจาก UVB ทำให้เกิดผิวหนังแสบไหม้ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันว่า อันตรายต่อผิวหนัง เกิดทั้งจาก UVA และ UVB โดยเฉพาะ UVA1 ทำให้ผิวหนังมีริ้วรอยเหี่ยวก่อนวัยได้มากกว่า ดังนั้นการเลือก สุดยอดครีมกันแดด ที่ดี จึงต้องป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ประสิทธิภาพ ในการป้องกัน UVBดูได้จากค่า SPF (sun protection factor) ส่วนประสิทธิภาพในการ ป้องกัน UVA ดูได้จาก CW (critical wavelength) หรือ PA (protection grade from UVA) เพื่อให้เข้าใจความหมายของ SPF ได้ง่ายขึ้น จะขอยกตัวอย่างคือ ผิวหนัง ที่ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 5 หรือครีมกันแดดทาหน้า หมายความว่าจะใช้เวลาตากแดด นานขึ้น 5 เท่า เมื่อเทียบกับผิวที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด กว่าจะมีผิวหนัง แสบไหม้ ครีมกันแดด SPF 50 ยิ่งมากขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVB ก็ยิ่ง มากขึ้น ล่าสุดองค์การอาหารและยาของ สหรัฐอเมริกา กำหนดให้ระบุ SPF สูงสุดเป็น “50+” เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะสนับสนุน ว่าครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 50 จะมีประสิทธิภาพดีมากขึ้นไปอีก ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA (UVA protection factor, UVA-PF) ดูได้จากค่าการป้องกันอาการผิวคล้ำจาก UVA ในครีม กันแดด ( persistent pigment darkening ,PPD) โดยค่า PPD ยิ่งสูง ยิ่งป้องกัน UVA ได้ดี ทำให้แบ่ง ครีมกันแดดตามประสิทธิภาพตามค่า PA แบ่งเป็น PA+(ประสิทธิภาพป้องกันต่ำ), PA++, PA+++,หรือPA++++ (ประสิทธิภาพป้องกันสูงสุด) ล่าสุดองค์กรอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกาให้ใช้ critical wavelength (CW) เพื่อบอก ประสิทธิภาพ ในการป้องกัน UVA แทนโดย CW ต้องมากกว่า 370 nm จึงสามารถ label ได้ว่าเป็น broad spectrum และสามารถระบุว่าลด อัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง และ ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ถ้าเป็น ทั้ง broad spectrum และ SPF มากกว่า หรือ เท่ากับ 15 แต่อย่างไร ก็ตาม สมาคมผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้ ครีมกันแดด ที่เป็น broad spectrum และSPF อย่างน้อย 30 ทุกวันเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ทาครีมลดสิวน้อยกว่าที่ควรเป็น ส่วนทาง European Commission กำหนดว่าครีมกันแดดเป็น broad spectrum ได้ต้องมี CW ต้อง มากกว่า 370nm และ ค่า UVA PF ต้องมีค่า อย่างน้อย 1/3 ของค่า SPF เช่น ครีมกันแดดที่มี SPF 30 ต้องมี UVA-PF อย่างน้อย 10 โดยใช้สัญญลักษณ์วงกลม ที่มีคำ UVA อยู่ภายใน ระดับของประสิทธิภาพ ค่า UVA-PF การแสดงค่า PA ต่ำ 2 หรือมากกว่า แต่น้อยกว่า 4 PA+ กลาง 4 หรือมากกว่า แต่น้อยกว่า 8 PA++ สูง 8 หรือมากกว่า แต่น้อยกว่า 16 PA+++ สูงสุด ตั้งแต่ 16 ขึ้นไป PA++++ การพิจารณาประสิทธิภาพของครีมกันแดดต้องดูทั้ง SPF และ CW ประกอบกัน เนื่องจากครีมกันแดดบางชนิดอาจมี CW สูงแต่มีค่า SPFต่ำได้ (ป้องกันUVAได้ดี แต่ ป้องกัน UVB ได้น้อย) การเลือกครีมกันแดดสำหรับคนหน้ามัน ควรเลือกตามกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ว่าต้องตากแดดมากน้อย เพียงใด ถ้าต้องตากแดดมาก ควรเลือกครีมกันแดดที่เป็น broad spectrum และ SPF มากกว่า 30 นอกจากนี้ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายังห้ามใช้คำ water proof หรือ sweat proof เนื่องจากทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดได้ว่า ครีมกันแดด นั้นป้องกันแสงแดด ได้ตลอดไป ไม่ต้องทาครีมกันแดดเพิ่ม แต่อย่างใด จึงให้ใช้ water resistant (40 minutes) หรือ very water resistant (80 minutes) เมื่อครีมกันแดดนั้นยังคงประสิทธิภาพ ป้องกัน แสงแดดหลังจาก water immersion เป็นเวลา 40 หรือ 80 นาทีตามลำดับ รูปแบบผลิตภัณฑ์กันแดด มีหลายรูปแบบที่พบบ่อยและใช้กัน แพร่หลาย คือ โลชั่น และครีม ส่วนเจลเหมาะสำหรับคนผิวมัน หรือเป็นสิวได้ง่าย แต่ เจลจะถูกล้างหลุดได้ง่าย ถ้ามีเหงื่อออก หรือว่ายน้ำ ส่วนรูปแบบแท่ง (stick) เหมาะสำหรับการทาบริเวณพื้นที่เล็ก เช่น ริมฝีปาก หรือจมูก สำหรับชนิดสเปรย์ ใช้ง่ายสะดวก แต่อาจทำให้ใช้ปริมาณน้อยไป ไม่เพียงพอในการป้องกันแสงแดด และต้องระวังว่าสเปรย์ติดไฟได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบ สารกันแดด ในแชมพูเพื่อป้องกันสีผมเปลี่ยนหรือการทำลาย โปรตีนในเส้นผมอันเนื่องมา จากแสงแดดปัจจุบันมีการใส่สารกันแดดใน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ เช่น รองพื้น แป้งแต่งหน้า แต่อาจไม่ สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB อีกทั้งมีค่า SPF ต่ำ จึงควรทา ครีมกันแดดร่วมด้วย อย่าลืมดูวันหมดอายุของครีมกันแดดด้วย ควรทาครีมกันแดด 15-30 นาทีก่อนออกแดด และควรทาครีมกันแดด ให้ทั่วถึง และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เนื่องจากสารครีมกันแดดบางตัวจะ สลายตัวเมื่อโดนแดด และ ควรทาซ้ำโดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออก หรือว่ายน้ำ อีกทั้งควรใช้ครีมกันแดดชนิด water resistant ด้วย สำหรับปริมาณที่ใช้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับค่า SPF ที่ ระบุนั้น ต้องทา 2 mg/cm เช่น บริเวณหน้า ศีรษะ และคอ ใช้ครีมกันแดด ประมาณ 1 ช้อนชา หรือ ปริมาณครีมเต็ม 2 ข้อนิ้วมือสำหรับหน้า สำหรับแขน ข้างละ 1 ช้อนชา ขาข้างละ 2 ช้อนชา ส่วนลำตัวด้านหน้าและหลังใช้ 2 ช้อนชา ถ้าต้องการ ทาครีมกันแดด ทั่วตัว ก็ประมาณ 35 มิลลิลิตร คนส่วนใหญ่ทาครีมกันแดด ปริมาณน้อยกว่าที่ควร คือประมาณ 25%-50% (0.5mg/cm2) ทำให้ ได้SPF เพียง 33% ของที่ระบุไว้ อาจ เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า SPF ที่ต้องการเพื่อชดเชยก็ได้ ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรใช้ครีมกันแดด กลุ่ม zinc oxide และ titanium dioxide เพื่อความปลอดภัยต่อเด็ก เนื่องจากไม่มีการดูดซึมยา ร่วมกับการป้องกันแสงแดดด้วยวิธีอื่นดังกล่าวมาแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง
กฎเหล็ก
ในการป้องกันแสงแดด
ในการป้องกันแสงแดด
ดูเพิ่มเติม